อาณาจักร ยาง (หิรัญเงินยาง)
ที่ตั้งแผนที่ โบราณ
อยู่ในดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย มีเมืองเงินยางเป็นราชธานี เมืองนี้ตั้งราวริมแม่น้ำโขงทางเหนือของอำเภอเชียงแสน โดยอาศัยแม่น้ำสายซึ่งเดิมเรียกว่า แม่น้ำละว้า เป็นที่ทำมาหากิน ต่อเมื่อขึ้นกับขอมแล้วก็เป็นอาณาจักรที่อยู่ในความคุ้มครองซึ่งต้องส่งส่วยอากรทุกปี และขอมก็ไ้ดตั้งผู้ดูแลความควบคุมไว้ด้วยขอมได้เปลี่ยนชื่อเมืองเงินยางว่า "โยนก" ตามคำบอกเล่าเกี่ยวกับเมืองโยนกของชาวอินเดียซึ่งอยู่ทางเหนือ ครั้นต่อมาอีกขอมกลับทิ้งให้เป็นเมืองร้างเสีย เมื่อไทยได้เข้ามาครอบครองจึงสร้างเป็นเมืองขึ้นใหม่ ซึ่งขณะนั้นเรียกว่าเมืองโยนก และเรียกขอบเขตอาณาจักรว่า "อาณาจักรโยนก" ด้วยตามตำนานพงศาวดารโยนกกล่าวไว้มีใจความว่า
โอรสพ่อขุนบรม ได้เข้ามาสร้างเมืองใหม่ในที่ๆ เคยเป็นเมืองและร้างไป แล้วโดยขนานนามว่า "โยนกนาคนคร" และเปลี่ยนชื่ออาณาจักรว่า "อาณาจักรลานนาไทย" นครโยนกก็คือเมืองเชียงแสนนั่นเอง ดังที่มีผู้เรียกว่า "เชียงแสนโยนก" หรือ "โยนกเชียงแสน" บ่อยๆ และบางทีก็เรียกว่า ไชยบุุรี ตามพระนามขุไชยพงษ์ โอรสของพ่อขุนบรม
ยังมีผู้กล่าวอีกว่า อาณาจักรนี้มีสืบเนื่องจาก อาณาจักรสุวรรณโคมคำตามผู้สืบค้นตามตำนานต่างๆในสมัยต้นพุทธกาล บริเวณดินแดนริมฝั่งแม่น้ำโขงและปากแม่น้ำแม่กก เคยมีเมืองโบราณเมืองหนึ่ง เรียกตามตำนานว่า เมืองสุวรรณโคมคำ เมื่อนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นเมืองของชนชาติขอม เมืองนั้นได้ถูกกระแสน้ำเชี่ยวกรากยามหลากฤดูกาลนัำ พัดพังลงในแม่น้ำโขงจนหมดสิ้น และเมืองนั้นมีอาณาเขตหนอุดร วิถึ
ปากทางหนองกระแส หนทักษิณถึงฝ่ายนาค (หลี่ผี) หนบูรพาถึงน้ำตาแตก (น้ำแท้) หนประจิมถึงน้ำตู เป็นแดนเจ้าสุวรรณมุขทวาร ได้เป็นปฐมกษัตริย์สืบขัตติยวงศาต่อๆกันมา ยังแต่เชื้อวงศ์พาหิรพราหมณ์ เมืองอุมงคเสลานครได้มาเป็นใหญ่เป็นเจ้าในเมืองสุวรรณโคคำนี้ ครั้งนั้นพวกขอมได้ทำการอุบาทว์ลามกต่างๆ และกดขี่ขมเหงไพร่บ้านพลเมืองได้ความทุกข์ยากเดือดร้อน
ยังมีชายเข็ญใจคนหนี่ง ตั้งทำไร่อยู่ริมน้ำแม่ขละนที (แม่น้ำโขง) นตอนกลางระหว่างเมืองสุวรรณโคมคำ กับเมืองโพธิสารหลวง (เมืองหลวงพระบาง) เม่น้ำ ณ ที่นั้นมีดอนทรายอ่อนและวังผา เป็นที่ซึ่งราชธิดาทั้ง ๓ ของพญาศรีสัตนาคราชมาประพาสเล่นน้ำเนื่องๆ
วันหนึ่งราชธิดาทั้ง ๓ ลงมาเล่นน้ำแล้วอ่อนหิว จึงพากันไปกินข้าวในไร่ของมาณพเข็ญใจผู้นั้น แล้วกลับไปเมืองนาค แจ้งความต่อพญานาคราชผู้เป็นบิดา พญาศรีสัตนาคราชได้ทราบว่าราชธิดาไปลักกินข้าวในไร่ของมาณพเข็ญใจ โดยเจ้าของมิได้อนุญาตเช่นนั้น จึงปรับโทษเป็นอทินนาทานสาปของพญานาคผู้บิดาแล้ว ก็อำลามาแปลงตนเป็นมนุษย์นารีไปอยู่ปฏิบัติรับใช้เวรแก่มาณพ
นางแนะนำให้มาณพไปค้าขายยังเมืองสุวรณโคคำ แล้วนางก็เนรมิตเรือและของสินค้าให้แก่มาณพๆ นั้นก็ขึ้นไปค้ายังสุวรรณโคมคำนคร ครั้งนั้นพวกขอมชาวเมืองสุวรรณโคมคำล้วนใจปาปหยาบช้ากักขฬะต่างๆก็ทำอุบายใส่ความใส่โทษ ปรับริบเอาสินค้าของมาณพเสียหายหลายครั้งหลายครา
คราวหลังนางนาคธิดาทั้ง ๓ จึงขึ้นไปพร้อมด้วยเรืองค้าของมาณพนั้น ไปพักอยู่ ณ ที่ซึ่งบัดนี้เรียกว่า ท่านาค (เพราะเหตุนาคไปอยู่ท่านั้น) พญาขอมเจ้าเมืองสุวรรณโคมคำก็แต่งอุบายมาล่อลวงพนันขันต่อต่างๆเพื่อริบเอาสินค้าของมาณพนั้นอีก ในครั้งนี้ นางนาคบันดาลให้พญาขอมแพ้การพนัน มาณพนั้นก็ริบเอาราชสมบัติของพญาขอมบ้าง ตามที่ได้พนันสัญญากัน
แต่พญาขอมไม่ยอมให้ริบ กลับพาลหาเหตุต่างๆ ไล่มาณพนั้นออกจากเมือง ฝ่ายนางนาคธิดาทั้ง ๓ ก็โกรธพญาขอมว่าหาความสัตย์มิได้จึงกลับไปทูลนาคราชบิดา บิดาจึงให้พลโยธานาคมาขุดควักฝั่งแม่น้ำขละนทีพังเมืองสุุวรรโคมคำให้ทลายลมจมไปในแม่น้ำขละนทีในเวลาราตรีพญาขอมเจ้าเมืองกับชาวขอมในเมืองก็ถึงกาลกิริยาตายเป็นอันมาก
พวกที่อยู่ฝั่งแม่น้ำฟากตะวันออกก็พากันหนีไปทางบกบ้าง ทางเรือบ้าง ล่องลงมาเป็นลูกบ้านแห่งมาณพพาณิชนั้นบ้าง สถานที่อยู่มาณพนั้นก็เกิดเป็นคามนิมอันใหญ่แต่นั้นมา ฝ่ายพวกชาวเมืองสุวรรณโคมคำที่อยู่ฝั่งฝากตะวันตก ก็พากันไปสู่เมืองอุมงคเสลานครบ้าง ขี้นไปยังเมืองนครไทยเทศคือราชคฤห์บ้าง เมืองสุวรรโคมคำก็ร้างกลายเป็นทางหลวงไป ได้ชื่อว่า ท่าโคมคำแต่นั้นมา
ครั้นพวกขอมชาวเมืองสุวรรณโคมคำกระจัดกระจายไปแล้ว ก็มีแต่มิลักขุชนอยู่ตามซอกห้วยราวเขา มีปู่เจ้ากูบคำ ปู่เจ้าหมวกทอง เป็นใหญ่แก่ลัวะทั้งหลาย ตั้งอยู่บนดอยหลวงเขาตายะทิศ คือว่าเขาสามเส้า หรือดอยก้อนเสน้า ก็เรียก ซึ่งบัดนี้เรียกว่าดอยตุง (ดอยธง)
ก่อนที่อาณาจักไทยมุงของบรรพบุรุษชาวไทย ที่เรียกตนเองว่า อ้ายลาว จะถอยร่นลมาในย่านแม่น้ำโขงตอนกลาง ที่เป็นย่านสิบสองปันนาตอนล่าง เรื่อยลมาจนถึงตรงบริเวณที่เม่น้ำกก (กุกกุฏนที) จรดแม่น้ำโขงในปัจจุบัน ที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง มีชาวละว้าอาศัยอยู่ก่อนมีเมืองสุวรรณโคมคำตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ต่อมาแม่น้ำโขงล้นเอ่อจนเมืองน้ันพังลงแม่น้ำโขงไปจนหมดสิ้น ดังตำนานเล่าขานต่อมา
ต่อมาพระเจ้าสิงหนวัติได้มาสร้างเมืองขั้นบนเมืองสุวรรณโคมคำในขั้นต่อมาเมืองนี้ก็ยุบหายไป กลายเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่ เรียกว่า หนองหล่ม เมืองของพระเจ้าสิงหนวัตินั้น เรียกว่า เมือง โยกนกนาคพันธ์ุ ซึ่งมีความเป็นมา
เรียบเรียง โดย ken@dventure
อ้างอิง ข้อมูล ที่
ประวัติสารคดี ๓๐ มีถุนายน ๒๕๐๑ วิทย์ พิณคันเงิน
เกล็ดพงศาวดาร ล้านนา ลำจุล ฮวบเจริญ
ภาพถ่ายจาก กูเกิล
https://buddhafacts.wordpress.com/page/43/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น